เสน่ห์ของ ต้นหอมญี่ปุ่น ที่แตกต่างไปจากต้นหอมของไทยก็คือ มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนเนื้อของต้นหอมหนาและกรอบกว่า ที่สำคัญคือมีรสหวานนำ เผ็ดฉุนน้อย และยังไม่มีกลิ่นเหม็นที่หลายคนไม่ชอบอีกด้วย เวลานำมาทำอาหารเลยได้รสชาติที่ดี เข้ากันได้กับอาหารไทยหลายประเภท จึงมีคนนิยมปลูกพืชผักสวนครัวชนิดนี้เอาไว้ในบริเวณบ้านมากขึ้น ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่เริ่มสนใจแล้วเหมือนกัน ก็มีเรื่องที่จะต้องรู้ก่อนปลูกพืชชนิดนี้อยู่ด้วย ข้อมูลพืชพันธุ์ไม้
เตรียมเมล็ด ต้นหอมญี่ปุ่น ให้งอกง่ายขึ้น
พืชผักสวนครัวที่ไม่ได้เป็นสายพันธุ์ในบ้านเรา มักจะจำหน่ายในลักษณะของเมล็ดพันธุ์มากกว่าต้นกล้า ต้นหอมญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน เพื่อให้เปอร์เซ็นต์การงอกเพิ่มสูงขึ้น เราควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง นำมาแช่น้ำผสมน้ำยากันเชื้อราก่อนเสมอ โดยแช่น้ำยาแค่ประมาณ 15-20 นาทีก็พอ นำขึ้นสะเด็ดน้ำแล้วห่อด้วยทิชชูทิ้งข้ามคืนไว้ ก่อนนำเมล็ดเหล่านั้นไปปลูก แบบนี้ต้นกล้าจะงอกเร็วและแข็งแรงด้วย
ต้นหอมญี่ปุ่นเป็นพืชที่ติดเชื้อราได้ง่ายมาก
อันที่จริงคุณสมบัตินี้เราไม่ค่อยพบที่ญี่ปุ่นเท่าไร เพราะต้นหอมญี่ปุ่นจะเติบโตท่ามกลางอากาศที่ค่อนข้างแข็งและหนาวเย็น แต่พอนำมาปลูกในบ้านเราที่มีอากาศแบบร้อนชื้น ปัญหาเรื่องเชื้อราจึงเกิดได้บ่อยกว่าที่คิด นอกจากการแช่น้ำยากันเชื้อราตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว เมื่อนำต้นกล้าลงแปลกปลูกเรียบร้อย จะต้องมีการพรวนดินเพื่อพลิกเม็ดดินให้โดนแดดอย่างสม่ำเสมอ ค่าเฉลี่ยก็อยู่ที่ 2 อาทิตย์ต่อครั้ง ไม่งั้นต้นหอมจะติดเชื้อราจนตาย
ต้นหอมญี่ปุ่นใช้เวลาเติบโตประมาณ 3 เดือน
ในแต่ละรุ่นการเพาะปลูก เราต้องคำนวณระยะเวลาเติบโตของต้นหอมญี่ปุ่นเอาไว้ด้วย ภายใต้การดูแลที่ถูกต้อง ต้นหอมจะโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยวในระยะ 3 เดือน ดังนั้นถ้าเราปลูกไว้กินภายในครัวเรือน จะต้องแบ่งแปลงปลูกเป็นรอบๆ ให้เวลาไล่เลี่ยกัน จะได้มีผลผลิตไว้กินกันได้อย่างต่อเนื่อง เทคนิคหนึ่งที่ใช้ได้ดีก็คือแบ่งเมล็ดให้ได้ปริมาณเพียงพอต่อครัวเรือน แล้วทยอยปลูกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- ต้นกาแฟ เลือกสายพันธุ์อย่างไรดีถึงจะง่ายต่อการดูแลไปติดตามกันเลย
- ต้นกล้ากาแฟ จะต้องเพาะยังไงให้ได้ต้นที่แข็งแรงและเติบโตไว
- ต้นไม้มงคล แบบไหนปลูกที่บ้านจะโชคดี บอกเลยว่าห้ามพลาดเด็ดขาด
- ต้นไม้ญี่ปุ่น เพื่อนๆ กำลังมองหาไอเดีย ปลูกต้นไม้ที่บ้านอยู่แต่เบื่อต้นไม้
- ผักสลัดคอส ถือว่าเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ทานได้ง่าย เป็นพันธุ์ที่มีใบทรง